ที่มาของการจัดตั้งเครือข่าย

ที่มาของการจัดตั้งเครือข่ายเชิงประเด็นฯ (เครือข่าย C) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตั้งแต่ปี พศ. 2540 เป็นต้นมา โดยได้ดำเนินกิจกรรมตามกรอบและแผนแม่บทหลายกิจกรรม ต่อมาในปีงบประมาณ 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เดิม) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เห็นควรใช้ศักยภาพระบบเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9 เครือข่ายทั่วประเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นกลไกขับเคลื่อนงานสนองพระราชดำริฯ โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งเครือข่ายระดับปฏิบัติการ C (ระดับเครือข่ายเชิงประเด็น – Issue based) ขึ้น ซึ่งมีการดำเนินงานเชื่อมโยงด้วยโครงสร้างเครือข่ายอุดมศึกษาเชิงพื้นที่ 3 ระดับ ดังนี้

1. ระดับเครือข่าย A (ระดับส่วนกลาง – สกอ.) คือ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน เป็นศูนย์กลางกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และการจัดสรรทรัพยากร-งบประมาณ

2. ระดับเครือข่าย B (ระดับพื้นที่ส่วนภูมิภาค) คือ เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา รวม 9 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับมอบหมายให้เป็นแม่ข่ายของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดนทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานการดำเนินงานโครงการ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของเครือข่ายเชิงประเด็น

3. ระดับเครือข่าย C (ระดับเครือข่ายเชิงประเด็น – Issue based) คือ เครือข่ายระดับปฏิบัติการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารเครือข่าย B ต้องแต่งตั้งคณะทำงานเชิงประเด็น อพ.สธ. (เครือข่าย C) เพื่อทำหน้าที่บริหารโครงการ ดำเนินกิจกรรม อพ.สธ. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ รวมทั้งการประเมินผลปฏิบัติงาน (Output & Outcome) เปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการเพื่อให้การขับเคลื่อนเครือข่ายสหสถาบันในท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสถาบันเครือข่าย

คณะทำงานเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการ อพ.สธ.-สกอ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีทั้งหมดจำนวน 15 สถาบัน ประกอบไปด้วย

  1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  4. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  6. มหาวิทยาลัยนครพนม
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  9. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
  10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น
  11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร
  12. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  13. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  14. วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู
  15. วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดทำคำสั่งที่ 50/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสถาบันเครือข่ายในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และร่วมกันขับเคลื่อนงานวิจัย และบริการวิชาการ ตามกรอบโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยเกิดการบูรณาการงานของแต่ละสถาบันที่มี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)

2. ประชาสัมพันธ์ให้คณาจารย์ บุคลากร สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีความรู้ความเข้าใจ แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการสนองพระราชดำริ

3. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และสร้างความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานในการดำเนินงานเกี่ยวกับการสนองพระราชดำริ

ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ

1. สถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายฯ มีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของงานสนองพระราชดำริของสถาบันอุดมศึกษา

2. มีการการบูรณาการงานสนองพระราชดำริร่วมกันระหว่างสถาบันเครือข่ายฯ

3. มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของเครือข่ายฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

1. เกิดความร่วมมือการทำงานด้านวิชาการระหว่างสถาบันเครือข่ายฯ

2. จำนวนผู้ที่รู้จักโครงการ อพ.สธ. และรู้จักเครือข่ายฯ เพิ่มมากขึ้น

Copyright © 2017. All rights reserved.
paykwik bozum
astropay bozdurmak istiyorum